วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติเพลงลูกทุ่ง



ประวัติ -ที่มา เพลงลูกทุ่ง


หากมีคนบอกว่าวิทยุทรานซิลเตอร์ เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของเพลงลูกทุ่ง ก็คงไม่แปลกอะไร วิทยุทรานซิลเตอร์คือเครื่องสื่อสารที่นำเพลงลูกทุ่งจากภาคกลางเข้าสู่ชนบท ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสานหรือภาคอื่นๆ

แต่วงดนตรีลูกทุ่งนั้นมีกำเนิดในกรุงเทพฯ หาใช่ภาคอีสานแต่อย่างใด

ดนตรี จะมีแกนสำคัญที่สุดคือเครื่องดนตรี และวงดนตรีลูกทุ่งนั้นเครื่องดนตรีนั้นส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีสากลไม่ว่า จะเป็น กลอง ทรัมเป็ต แซกโซโฟน แอคคาเดียร กีตาร์ ทรอมโบน

ล้วนเป็นองค์ประกอบหลักของวงดนตรีลูกทุ่ง

แล้ววงดนตรีลูกทุ่งมาจากไหน

ตอบได้เลยว่ามาจาก วงตรีทหารหรือวงโยธวาทิตหรือที่ชาวบ้านมักจะติดภาพของ “แตรวง”

แตรวง เป็นวงดนตรีซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ทำด้วยทองเหลืองจำพวกแตร และเครื่องตี เช่น กลอง มีทั้งวงเล็กและวงใหญ่ การบรรเลงเพลงจะใช้ผู้บรรเลงหลายคน บรรเลงในลักษณะการนั่งหรือยืนล้อมเป็นวง

แตรวง เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 โดยการรับเอาวัฒนธรรมทางตะวันตกเข้ามาหลายอย่าง โดยมีการฝึกทหารแบบฝรั่ง มีการใช้แตรเดี่ยวเป่าให้สัญญาณ และเป่าเพลงเดินนำหน้าแถวทหาร แตรวงในสมัยนั้น ยังไม่มีเครื่องลมไม้ มีแต่เพียงเครื่องกระทบจำพวกกลอง

งานวิทยานิพนธ์ปริญญาโท เรื่อง วิวัฒนากรเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย ของ ศิริพร กรอบทอง สำนักพิมพ์พันธกิจ .กทม. ตุลาคม 2547 จัดพิมพ์กล่าวถึงความเป็นมาของเพลงสากลก่อนสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ไว้ว่า

อิทธิพลทางการดนตรีของตะวันตกซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 4 โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการฝึกหัดทหารตามแบบยุโรปแต่ได้ใช้แตรวงบรรเลงประกอบการฝึกมทหาร ได้มีการว่าจ้างนายทหารสองคนที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศอินเดียมาเป้นครูฝึก คือ ร้ยเอกอิมเปย์ เป็นครูฝึกในวังหลวง และร้อยเอกนอกซ์ เป็น ครูฝึกในวังหน้า เทาเซนต์ แฮรีส ทูตชาวอเมริกันที่เข้ามาในเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ. 2396 บันทึกไว้ว่าวงดนตรีของเขานั้นเป็นของแปลกใหม่ที่ดึงดูดความสนใจของคนไทยที่ พบเห็นเป็นอันมาก

บุคคลในราชสำนัก อาทิ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวและมูลนายชั้นสูงต่างนิยมมีแตรวงไว้ บรรเลงเพื่อความบันเทิงและประดับเกียรติยศกันแทบทั้งนั้น อีกทั้งความสนใจแตรวงซึ่งเป็นดนตรีตะวันตกยังผลให้ลักษณะการฟังเพลงของชน ชั้นสูงเปลี่ยนแปลงจากการฟังเพลงในลักษณะการขับกล่อมที่มีมาแต่เดิม เช่น การฟังเพลงจากวงมโหรีก็เปลี่ยนมาเป็นการฟังเพลงอย่างจริงจังแบบตะวันตก

ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระองค์ได้ทรงบัญญัติคำว่า “วงโยธวาทิต” ขึ้นโดยนำคำว่า “โยธา”

เพลงลูกทุ่งมีวิวัฒนาการมาวงดนตรีหน่วยทหารแต่กองทัพต่างๆ สังเกตได้จาก นักร้องที่มีลูกทุ่งที่ผ่านจากวงดนตรีทหาร เช่น สุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งเริ่มจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ หรือ พยงค์ มุกดา และ เบญจมินทร์ ซึ่งเคยเป็นทหารอาสาในสมัยสงครามเกาหลี(หลังเป็นนักร้อง นักแต่งเพลงดังแล้ว) และนำเพลงอารีดังเข้ามาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้าขวาง

เพลง โอ้แม่สาวชาวไร่ ซึ่งแต่งโดย ครูเหม เวชกร ขับร้องโดย คำรณ สัมบุณณานนท์ ใช้ประกอบร้องประกอบละครวิทยุในปี พ.ศ. 2481 ซึ่งถือว่าเป็นเพลงลูกทุ่งเพลงแรกของวงการก่อนจะมีคำว่า เพลงลูกทุ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2504 ในรายการเพลงลูกทุ่งทางช่อง 4 บางขุนพรหมของ ประกอบ ไชยพิพัฒน์

รากฐานของดนตรีลูกทุ่งนั้นมาจากแตรวงหรือวงดนตรีทหาร แต่ความชัดเจนของดนตรีนั้นเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นก็เมื่อมีการตลาดเข้ามา จัดการโดยผ่ายวิทยุทรานซิลเตอร์

การละเล่นเพื่อความบันเทิงนี้ในยุคที่วงตรียังไม่เกิด หากจะมีการคงแค่รำวงๆ ต่างซึ่งเป็นละเล่นของผู้คนทั่วไป จึงกลายเป็นวิวัฒนาการของ “เชียร์รำวง” ที่เน้นความสนุกสนานบันเทิงเป็นหลักก่อนยุค “เธคลอยฟ้า”

ส่วนเรื่องทำนองเพลงนั้นซึ่งมีรากจากเพลงรำวงและเพลงพื้นบ้านนั้นเป็นผลสืบ เนื่องหนึ่งของเรื่องเพลง แต่ก่อนที่ยุคลูกทุ่งจะเฟื่องฟูนั้นเป็นยุคที่วิกลิเกมีความนิยมแพร่หลาย เป็นอย่างมากภายในภาคกลางโดยมีแหล่งกำเนิดที่ใจกลางของกรุงเทพฯ

วิวัฒนาการอย่างหนึ่งของวิกลิเกจึงถูกแทนที่ด้วยวงดนตรีลูกทุ่งยุคใหม่ที่ อาศัยเครื่องดนตรีจากวงดนตรีทหารโดยทหารเองเป็นนักดนตรีที่หารายได้พิเศษนอก จากงานประจำ และมีเครื่องมือทางดนตรีที่ล้ำสมัยกว่า

โดย หางเครื่อง นั้น เป็นวิวัฒนาการเข้ามาที่หลังๆจากเริ่มมีการเปิดวิกการแสดงแล้วถือเป็นการ ปรับตัวอย่างหนึ่งของวงการเพลงลูกทุ่ง

เมื่อมีการตลาดเข้ามา การขยายวงกว้างของเพลงลูกทุ่งเริ่มนำสู่สังคมชนบทมากขึ้นโดยเฉพาะสื่อสารผ่านวิทยทรานซิลเตอร์

วิทยุทรานซืลเตอร์ จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการนำความล้ำสมัยเข้าสู่สังคมชนบท ผ่านบทเพลงต่างๆ หลังยุค พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา

นักร้องลูกทุ่งในยุคนั้นจึงนิยมเปิดวิกการแสดงตามสถานที่ต่างๆ ตามที่มีแฟนเพลงเหนียวแน่น แต่เครื่องดนตรียังเป็นเครื่องสากลอยู่แม้ว่าบทเพลงจะเล่าถึงสังคมชนบท แม้ว่าจะใช้เครื่องไม่กี่ชิ้น

เพลงลูกทุ่งจึงมิได้มีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2481 เท่านั้นหากแต่มีวิวัฒนาการที่สืบเนื่องอย่างยาวนานกว่านั้น และบริบทเพลงลูกทุ่งในยุคที่เรียก “เพลงตลาด” จนกลายมาเป็น “เพลงลูกทุ่ง” เมื่อ พ.ศ. 2504 โดยมีพื้นฐานของเพลงพื้นบ้านผสมกับการแต่งโน๊ดดนตรีให้เข้ากับเครื่องดนตรี สากล

นักร้องที่รู้จักเสียงดนตรีระหว่างสากลและพื้นบ้านได้กลมกลืนนั้นมีพื้นฐาน ทางพ่อเพลงแม่เพลงพื้นบ้านเป็นอย่างมาก เช่น ชาย เมืองสิงห์,ลพ บุรีรัตน์ แม้กระทั่งบรมครูคีตกวี ไพบูลย์ บุตรขัน

ชาย เมืองสิงห์ เป็นบุคคลหนึ่งที่นำเพลงมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยนั้นโดยอาศัยพื้นฐาน เพลงไทยเดิม,เพลงพื้นบ้าน ผสมกับเครื่องดนตรีสากลได้อย่างลงตัว แม้ว่า ชาย เมืองสิงห์จะไม่ได้เป็นนักดนตรี นักร้องจากวงทหารก็ตาม แต่มีพื้นฐานมาจากเชียร์รำวง

ความสำคัญของเครื่องดนตรี จึงถูกมองข้ามไปทั้งๆทีมีความสำคัญแรกในการตั้งคำถามขึ้นมาว่า “เพลงลูกทุ่งมากจากไหน” จากที่จะสืบค้นว่าเพลงนี้ เพลงนั้นมาอย่างไร

เพลงโอ้สาวชาวไร่ ของครูเหม เวชกร ที่แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2481 ที่เชื่อว่าเป็นเพลงลูกทุ่งเพลงแรกนั้นอาจจะตกไปก็ได้หากมีการทำความเข้าใจ ว่าความเป็นมาของเพลงลูกทุ่งหรือเพลงตลาดนั้นเริ่มมีวิวัฒนาการมาจากไหน?

ซึ่งจริงๆ แล้ว เพลงโอ้สาวชาวไร่ เพิ่งถูกตั้งให้เป็นเพลงแรกของวงการลูกทุ่งเมื่อ ครั้งมีงาน ลูกทุ่งกึ่งศตวรรษ ครั้งที่ 1 จัดโดย สวช.(สำนักงานคณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ)เมื่อ พ.ศ. 2531 มานี้เอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น